“กองทัพต้องเดินด้วยท้อง” คำพูดอมตะนี้เป็นจริงเสมอ แม้แต่กองทัพคนเหล็กอย่างนัดไตรกีฬาก็เช่นกัน เพราะร่างกายคนเราทุกคน ต่างก็ต้องการพลังงานจากอาหาร ในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะเมื่อเป็นร่างกายของนักกีฬาด้วยแล้ว ยิ่งมีความต้องการอาหารมากกว่าปกติ เพราะต้องใช้พลังงานมากในการเล่นกีฬาทุกครั้ง และที่สำคัญไปกว่านั้น คือการกินอาหารของนักกีฬา จะต้องกินอย่างถูกต้องตามหลักโภชนาการอีกด้วย เพื่อที่นอกจากจะได้พลังงานจากอาหารเหล่านั้นแล้ว นักกีฬายังจะได้สารอาหารต่าง ๆ เพื่อไปเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายอีกด้วย สำหรับนักไตรกีฬา ก็มีความต้องการอาหาร คล้าย ๆ กับนักกีฬาหรือผู้ออกกำลังกาย ที่ต้องใช้ร่างกายอย่างหนักอื่น ๆ โดยอย่างแรกเลยคือการรับประทานอาหารให้ได้สารอาหารครบ 5 หมู่ คือ คาร์โบไฮเดรต เป็นแหล่งพลังงานสำคัญของนักกีฬา โดยจะเปลี่ยนไปเป็นพลังงานสะสมในรูปแบบของ ไกลโคเจนเพื่อเก็บเป็นพลังงานสำรอง และคาร์โบไฮเดรตที่มาจากอาหาร เช่น ข้าว แป้ง เผือก มันและธัญพืช จะสามารถ สะสมเก็บไว้ในกล้ามเนื้อได้ดีกว่าเครื่องดื่มรสหวาน หรือน้ำตาล ดั้งนั้นควรบริโภคคาร์โบไฮเดรตจากส่วนนั้นเป็นหลัก และมีความต้องการอยู่ที่ 55-60% ของพลังงานทั้งหมดในหนึ่งวัน โปรตีน เป็นสารอาหารส่วนสำคัญในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ รวมถึงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และโปรตีนที่บริโภคควรจะเป็นโปรตีนที่สมบูรณ์ Continue Reading
สาระน่ารู้
ตะคริว ปัญหาใหญ่ของนักไตรกีฬา
ตะคริว นับว่าเป็นอาการบาดเจ็บที่มักจะเกิดขึ้นกับนักกีฬาทุกประเภทอยู่แล้ว เรียกได้ว่าเกิดมาคู่กันกับกีฬาเลยก็ว่าได้ เพราะกีฬาต้องใช้กล้ามเนื้อ และเมื่อใช้กล้ามเนื้อก็ต้องมีโอกาสเกิดตะคริวขึ้น อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยิ่งเป็นกีฬาที่ต้องใช้การออกแรงของกล้ามเนื้ออย่างหนักแบบไตรกีฬาแล้ว การเกิดตะคริวย่อมมีโอกาสมากขึ้นตามไปด้วย และที่สำคัญหากตะคริวเกิดขึ้นในขณะแข่งไตรกีฬาแล้วด้วย ยิ่งจะเป็นปัญหาใหญ่แน่นอน เพราะไตรกีฬาไม่สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้เหมือนกีฬาประเภททีม อีกทั้งยังมีระยะทางที่ไกล หากเกิดขึ้นในช่วงต้น ๆ การแข่งขัน อาจจะต้องทรมานไปตลอดเส้นทาง หรือต้องออกจากการแข่งขันไปเลย ซ้ำร้ายหากเกิดขึ้นในขณะว่ายน้ำ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เพราะมีการจมน้ำเสียชีวิตเนื่องจากเป็นตะคริวมาแล้วนั่นเอง สาเหตุการเกิดตะคริว สำหรับนักกีฬาบางคน มีความคิดว่าการเกิดตะคริวมีผลมาจากการขาดน้ำ หรือการขาดเกลือแร่ แต่ในทฤษฎีทางการแพทย์แล้ว ชี้ชัดว่าการเกิดตะคริวในขณะเล่นกีฬานั้น ไม่ได้เกิดจากการขาดทั้งสองอย่างเลย เมื่อปี 1997 ด็อกเตอร์ มาร์ติน ชเวลนัส ได้เสนอทฤษฎีที่อธิบายการเกิดตะคริวได้ดีที่สุดว่า การยืดและหดตัวของกล้ามเนื้อนั้น เกิดจากสัญญาณการสั่งการของระบบประสาท ซึ่งมีความสมดุลกัน เมื่อมีการใช้งานกล้ามเนื้อหนักเกินไป และกล้ามเนื้อมีความแข็งแรงไม่พอแล้วนั้น จึงทำให้ระบบประสาทสั่งการ การหดตัวของกล้ามเนื้อมีมากเกินไป จนทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการเกร็งขึ้นมานั่นเอง เมื่อเกิดอาการตะคริวขึ้นในขณะเล่นกีฬาแล้วนั้น การปฐมพยาบาลด้วยตัวเองที่ง่ายที่สุด คือการพยายามยืดกล้ามเนื้อ เพื่อลดอาการหดตัวของกล้ามเนื้อนั่นเอง โดยทำการยืดกล้ามเนื้อแช่ไว้ 15-30 วินาที ซ้ำ ๆ Continue Reading