อย่างที่รู้กันว่า ไตรกีฬาคือกีฬาที่วัดกันที่ความทรหด อดทนของทั้งร่างกายและจิตใจของผู้เล่น ทำให้ใครหลาย ๆ คนที่อยากจะลองสัมผัสกับกีฬาชนิดนี้ เกิดความกังวลอยู่บ้าง ว่าตัวเองจะสามารถผ่านความโหดหิน ของเจ้ากีฬาชนิดนี้ไปได้หรือไม่ เพราะเพียงแค่ได้ยินว่า มันคือกีฬาของผู้ที่เรียกว่า “คนเหล็ก” แล้วนั้น ผู้คนธรรมดาย่อมจะจินตนาการไปก่อนว่ามันจะต้องหนักเกินกว่ากีฬาธรรมดาอย่างมากแน่นอน และด้วยความกลัวว่ามันจะยากเกินกว่าความสามารถที่ตัวเองมี จนความกลัวนี้ทำให้คน คนนั้นอดที่จะได้สัมผัสกับความสนุกของกีฬาชนิดนี้ไปเลยก็ได้ และมันอาจจะทำให้คน คนนั้นไม่มีโอกาสได้รู้เลยว่า จริง ๆ แล้วเขาก็อาจจะก้าวขึ้นไปเป็นคนเหล็กได้เช่นกัน เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้คน ที่อยากจะเล่นไตรกีฬาได้สัมผัสกับกีฬาชนิดนี้ได้ และเหมาะสมกับสุขภาพร่างกายของแต่ละคน การจัดการแข่งขันไตรกีฬา จึงได้จัดแบ่งประเภทการแข่งขันออกตามระยะทาง เพื่อให้นักกีฬาสามารถเลือกได้ว่า สภาพร่างกายของแต่ละคน เหมาะกับการแข่งขันในระดับไหน โดยมีการแบ่งเป็นประเภทหลัก ๆ ตามระยะทาง ออกเป็น 4 ระยะดังนี้ ระยะสปรินต์ (Sprint Distance) เป็นระยะทางที่ใช้ในการแข่งขันที่สั้นที่สุด แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะใกล้ซะจนใคร ๆ ก็ผ่านไปได้อย่างง่ายดาย เพราะขึ้นชื่อว่า “คนเหล็ก” แล้วนั้น มันย่อมจะไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน โดยการแข่งขันระดับนี้จะมีระยะทางทั้งหมดคือการว่ายน้ำ 750 เมตร Continue Reading
ไตรกีฬา
การเฝ้าระวัง อาการบาดเจ็บที่มักจะเกิดขึ้นกับนักไตรกีฬา
ขึ้นชื่อว่าการเล่นกีฬาหรือการออกกำลังกาย นอกจากจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายแล้ว สิ่งหนึ่งที่จะตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็คืออาการบาดเจ็บนั่นเอง เพราะการเล่นกีฬาแต่ละครั้ง หรือแต่ละประเภทกีฬา จะมีการใช้แรงจากร่างกายในส่วนต่าง ๆ ซึ่งจะแตกต่างกันออกไป ตามแต่ละชนิดกีฬา ซึ่งเราจะเห็นได้ชัดกับนักกีฬาชนิดต่าง ๆ จะมีความแข็งแรงของร่างกายแต่ละส่วนที่ต่างกัน เช่นวิ่งที่มีกล้ามเนื้อขาที่แข็งแรง นักเทนนิสจะมีแขนข้างที่ถนัดใหญ่กว่าข้างที่ไม่ถนัด เป็นต้น แต่กว่าที่ร่างกายของนักกีฬาเหล่านั้นจะแข็งแกร่งได้ มันย่อมจะผ่านการฝึกฝนอย่างหนัก ซ้ำแล้วซ้ำอีก และสิ่งหนึ่งที่จะตามมาในระหว่างการฝึกนั้นก็คือ ปัญหาอาการบาดเจ็บนั่นเอง สำหรับนักกีฬาไตรกีฬาก็เช่นกัน ยิ่งเป็นที่รู้กันดีว่า เป็นกีฬาที่เรียกกันว่า “คนเหล็ก” แล้วนั้น ย่อมจะต้องใช้ร่างกายอย่างหนักหน่วงอย่างแน่นอน ทั้งการว่ายน้ำ การปั่นจักรยาน และการวิ่ง เป็นระยะทางไกล ๆ การใช้ร่างกายแต่ละส่วน ซ้ำ ๆ เดิม ๆ เป็นเวลานาน ๆ อาจจะเกิดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อส่วนนั้น ๆ ตามมาก็เป็นได้ และอาการบาดเจ็บที่นักไตรกีฬานักจะพบเจอในการเล่น จะแบ่งออกตามประเภทกีฬาต่าง ๆ คือ การว่ายน้ำ ในการเล่นไตรกีฬานั้น จะต้องมีการว่ายน้ำเป็นระยะทางไกล ๆ Continue Reading
5 เทคนิค ในการเริ่มต้น สู่เส้นชัยของนักไตรกีฬา
ในปัจจุบัน ไตรกีฬา เป็นกีฬาที่ได้รับความสนใจอย่างมาก และความสนใจในกีฬาชนิดนี้ ก็แพร่กระจายออกไปสู่ผู้คนเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว และนั่นก็ทำให้มีผู้คนสนใจที่จะเล่นกีฬาชนิดนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ยังมีผู้คนที่สนใจบางส่วน ยังคงมีความกังวล ในการที่จะเริ่มเล่นกีฬาชนิดนี้ อาจด้วยที่เป็นกีฬาที่ขึ้นชื่อเรื่องความยากและความทรหด ต้องอาศัยความแข็งแกร่งทั้งร่างกายและจิตใจของผู้เล่น เลยทำให้หลายคนหวั่นเกรง และยังไม่กล้าจะเริ่มต้นสักที เราจึงรวบรวมเอาเทคนิค5 ข้อ ในการเตรียมความพร้อม สู่การเป็นนักไตรกีฬาของคุณ หาคนคอยชี้แนะ ในการเริ่มต้นคุณอาจต้องการคนคอยแนะนำ อาจจะเป็นโค้ชมืออาชีพ หรือแม้แต่เพื่อนที่มีประสบการณ์ในการเล่นไตรกีฬามาก่อน เพื่อคอยให้คำแนะนำในเรื่องต่าง ๆ เพื่อการเล่นที่ถูกวิธี นับว่าสำคัญมากเลยทีเดียว เพราะมันจะทำให้คุณก้าวไปในทางที่ถูกต้อง ลดการเสียเวลาในการฝึกซ้อมที่ผิด ๆ ซึ่งอาจจะเกิดอาการบาดเจ็บได้ด้วย และการทำสิ่งเหล่านี้คนเดียวคุณอาจจะมองไม่เห็นจุดบกพร่องของตัวเอง ทำให้การเล่นที่ผิด ๆ ของคุณไม่ได้รับการแก้ไขให้ถูกต้องซักที สะสมประสบการณ์ ควรเริ่มหาประสบการณ์ในการเล่นไตรกีฬา โดยอาจจะเริ่มจากการทีละชนิดก่อน เช่นหากคุณวิ่งเป็นประจำอยู่แล้ว อาจลองลงแข่งว่ายน้ำระยะไกล หรือปั่นจักรยานเพิ่มก่อน แล้วค่อย ๆ เปลี่ยนไปลงแข่งไตรกีฬาระยะสั้น เพื่อสะสมประสบการณ์ และฝึกร่างกายและจิตใจให้พร้อม สำหรับการเป็นคนเหล็กที่สมบูรณ์ หาจุดเด่นและจุดด้อยของตัวเอง นักกีฬาแต่ละคนจะมีจุดเด่นจุดด้อยที่แตกต่างกันออกไป คุณควรจะหาจุดเหล่านั้นให้เจอ เพื่อที่จะหาวิธีจัดการกับมัน Continue Reading
โภชนาการ กินอาหารอย่างไร ให้เหมาะกับไตรกีฬา
“กองทัพต้องเดินด้วยท้อง” คำพูดอมตะนี้เป็นจริงเสมอ แม้แต่กองทัพคนเหล็กอย่างนัดไตรกีฬาก็เช่นกัน เพราะร่างกายคนเราทุกคน ต่างก็ต้องการพลังงานจากอาหาร ในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะเมื่อเป็นร่างกายของนักกีฬาด้วยแล้ว ยิ่งมีความต้องการอาหารมากกว่าปกติ เพราะต้องใช้พลังงานมากในการเล่นกีฬาทุกครั้ง และที่สำคัญไปกว่านั้น คือการกินอาหารของนักกีฬา จะต้องกินอย่างถูกต้องตามหลักโภชนาการอีกด้วย เพื่อที่นอกจากจะได้พลังงานจากอาหารเหล่านั้นแล้ว นักกีฬายังจะได้สารอาหารต่าง ๆ เพื่อไปเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายอีกด้วย สำหรับนักไตรกีฬา ก็มีความต้องการอาหาร คล้าย ๆ กับนักกีฬาหรือผู้ออกกำลังกาย ที่ต้องใช้ร่างกายอย่างหนักอื่น ๆ โดยอย่างแรกเลยคือการรับประทานอาหารให้ได้สารอาหารครบ 5 หมู่ คือ คาร์โบไฮเดรต เป็นแหล่งพลังงานสำคัญของนักกีฬา โดยจะเปลี่ยนไปเป็นพลังงานสะสมในรูปแบบของ ไกลโคเจนเพื่อเก็บเป็นพลังงานสำรอง และคาร์โบไฮเดรตที่มาจากอาหาร เช่น ข้าว แป้ง เผือก มันและธัญพืช จะสามารถ สะสมเก็บไว้ในกล้ามเนื้อได้ดีกว่าเครื่องดื่มรสหวาน หรือน้ำตาล ดั้งนั้นควรบริโภคคาร์โบไฮเดรตจากส่วนนั้นเป็นหลัก และมีความต้องการอยู่ที่ 55-60% ของพลังงานทั้งหมดในหนึ่งวัน โปรตีน เป็นสารอาหารส่วนสำคัญในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ รวมถึงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และโปรตีนที่บริโภคควรจะเป็นโปรตีนที่สมบูรณ์ Continue Reading
ตะคริว ปัญหาใหญ่ของนักไตรกีฬา
ตะคริว นับว่าเป็นอาการบาดเจ็บที่มักจะเกิดขึ้นกับนักกีฬาทุกประเภทอยู่แล้ว เรียกได้ว่าเกิดมาคู่กันกับกีฬาเลยก็ว่าได้ เพราะกีฬาต้องใช้กล้ามเนื้อ และเมื่อใช้กล้ามเนื้อก็ต้องมีโอกาสเกิดตะคริวขึ้น อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยิ่งเป็นกีฬาที่ต้องใช้การออกแรงของกล้ามเนื้ออย่างหนักแบบไตรกีฬาแล้ว การเกิดตะคริวย่อมมีโอกาสมากขึ้นตามไปด้วย และที่สำคัญหากตะคริวเกิดขึ้นในขณะแข่งไตรกีฬาแล้วด้วย ยิ่งจะเป็นปัญหาใหญ่แน่นอน เพราะไตรกีฬาไม่สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้เหมือนกีฬาประเภททีม อีกทั้งยังมีระยะทางที่ไกล หากเกิดขึ้นในช่วงต้น ๆ การแข่งขัน อาจจะต้องทรมานไปตลอดเส้นทาง หรือต้องออกจากการแข่งขันไปเลย ซ้ำร้ายหากเกิดขึ้นในขณะว่ายน้ำ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เพราะมีการจมน้ำเสียชีวิตเนื่องจากเป็นตะคริวมาแล้วนั่นเอง สาเหตุการเกิดตะคริว สำหรับนักกีฬาบางคน มีความคิดว่าการเกิดตะคริวมีผลมาจากการขาดน้ำ หรือการขาดเกลือแร่ แต่ในทฤษฎีทางการแพทย์แล้ว ชี้ชัดว่าการเกิดตะคริวในขณะเล่นกีฬานั้น ไม่ได้เกิดจากการขาดทั้งสองอย่างเลย เมื่อปี 1997 ด็อกเตอร์ มาร์ติน ชเวลนัส ได้เสนอทฤษฎีที่อธิบายการเกิดตะคริวได้ดีที่สุดว่า การยืดและหดตัวของกล้ามเนื้อนั้น เกิดจากสัญญาณการสั่งการของระบบประสาท ซึ่งมีความสมดุลกัน เมื่อมีการใช้งานกล้ามเนื้อหนักเกินไป และกล้ามเนื้อมีความแข็งแรงไม่พอแล้วนั้น จึงทำให้ระบบประสาทสั่งการ การหดตัวของกล้ามเนื้อมีมากเกินไป จนทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการเกร็งขึ้นมานั่นเอง เมื่อเกิดอาการตะคริวขึ้นในขณะเล่นกีฬาแล้วนั้น การปฐมพยาบาลด้วยตัวเองที่ง่ายที่สุด คือการพยายามยืดกล้ามเนื้อ เพื่อลดอาการหดตัวของกล้ามเนื้อนั่นเอง โดยทำการยืดกล้ามเนื้อแช่ไว้ 15-30 วินาที ซ้ำ ๆ Continue Reading
ไตรกีฬา ความท้าทายขีดจำกัดของร่างกายและจิตใจ
ขึ้นชื่อว่ากีฬาแล้ว ประโยชน์อย่างแรกของมันคือ การเสริมสร้างให้ร่างกายของผู้เล่นมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น เป็นความแข็งแกร่งที่เกิดจากการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นกีฬาแต่ละประเภทจึงฝึกให้นักกีฬาประเภทนั้น ๆ เกิดความชำนาญ และความแข็งแกร่งของร่างกาย ตามที่ต้องใช้ในแต่ละประเภทกีฬา แต่ถ้าจะมีกีฬาสักประเภทหนึ่งที่รวมเอาทักษะ และความแข็งแกร่งของกีฬาหลายประเภท มารวมไว้ในประเภทเดียวแล้วละก็ กีฬาชนิดนั้นคงจะหนีไม่พ้น “ไตรกีฬา” อย่างแน่นอน ไตรกีฬา หรือ Trailon คือการแข็งขันกีฬา ที่ต้องใช้ทักษะกีฬา และความทรหดของร่างกายอย่างแท้จริง จนมีการเรียกนักกีฬาประเภทนี้ว่า “คนเหล็ก” หรือ “Ironman” เพราะเป็นกีฬาที่รวมเอากีฬาถึง 3 ประเภทมารวมเป็นประเภทเดียว คือการว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน และวิ่ง ซึ่งแต่ละประเภท ต้องใช้ทักษะและร่างกายในส่วนที่แตกต่างกันออกไป ทำให้นักกีฬาประเภทนี้ต้องฝึกอย่างหนัก เพื่อให้ร่างกายมีความแข็งแกร่งเพียงพอ ที่จะผ่านการแข่งขันในแต่ละประเภทกีฬาไปได้ รวมไปถึงความชำนาญในการเปลี่ยนประเภทกีฬา จากประเภทหนึ่งไปยังประเภทหนึ่ง โดยใช้เวลาน้อยที่สุด เพราะเวลาส่วนนี้จะถูกนำไปคิดในเวลารวมด้วย เรียกว่าต้องมีทักษะต่าง ๆ และความแข็งแกร่งของร่างกายรอบด้านเลยทีเดียว นอกจากทักษะและร่างกายที่แข็งแกร่งแล้ว ไตรกีฬายังฝึกให้ผู้เล่นแต่ละคน มีความแข็งแกร่งทางด้านจิตใจอีกด้วย เพราะมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะผ่านการแข่งขันแสนทรหดแต่ละประเภทไปได้ เพราะแต่ละประเภทกีฬาในทั้ง 3 ชนิด Continue Reading